พฤติกรรมและลักษณะนิสัยของกระรอกขนาดเล็ก















โดยธรรมชาติกระรอกเป็นสัตว์ป่ามีลักษณะสวยงามน่ารัก ทำให้คนนิยมเลี้ยงโดยเฉพาะกระรอกสายพันธุ์เล็กๆ พฤติกรรมและลักษณะนิสัยของกระรอกทั่วๆไปไม่แตกต่างจากกันมากนัก ทั้งกระรอกขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก สำหรับคนที่ต้องการนำกระรอกขนาดเล็กมาเลี้ยง ควรศึกษาพฤติกรรมและลักษณะนิสัยให้เข้าใจเสียก่อนเพื่อง่ายต่อการเลี้ยงดู

พฤติกรรมและลักษณะนิสัยของกระรอกขนาดเล็ก

กระรอกขนาดเล็กมีหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีลักษณะนิสัยที่แตกต่างกันบ้าง เช่น กระจ้อนหรือกระแต ที่คนมักรวมเป็นกระรอก ชอบอาศัยอยู่ตามสวนและป่ารอบนอก ไม่ชอบอยู่ตามป่าดิบทึบ ทำให้เราพบเห็นได้ง่าย เช่นเดียวกับกระเล็นเป็นกระรอกขนาดเล็ก ชอบอาศัยอยู่ตามป่าโปร่ง เช่น ป่าดิบแล้ง และเต็งรัง หากินตามต้นไม้สูง
กระรอกขนาดเล็กอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่นิยมนำมาเลี้ยงกันมาก ได้แก่ กระรอกสวน เหตุผลที่คนนิยมเลี้ยงกระรอกสวนนอกจากมีขนาดเล็กลักษณะสวยงาม เหมาะกับการเลี้ยงได้ทุกที่แล้ว กระรอกสวนยังหาง่าย ราคาไม่แพง นำมาเลี้ยงได้ตั้งแต่เล็กๆ เนื่องจากมีพฤติกรรมรบกวนผักผลไม้ของชาวสวน ทำให้ถูกกำจัดโดยการนำลูกกระรอกที่ยังไม่หย่านมมาขาย

พฤติกรรมของลูกกระรอกขนาดเล็ก

กระรอกเด็กหรือกระรอกอายุ 2 เดือน หรือ 60 วัน เป็นวัยที่กำลังซน จากการที่เป็นสัตว์ฟันแทะ ลูกกระรอกจะนั่งแทะเมล็ดธัญพืช เช่น เมล็ดทานตะวัน ได้นานเป็นชั่วโมง การเลี้ยงลูกกระรอกในวัยนี้คนเลี้ยงต้องอาจให้ผลไม้แข็งขึ้นมาอีกนิด เช่น ฝรั่ง เพื่อให้กระรอกได้แทะเป็นการลับฟันตามธรรมชาติ

กระรอกในวัย 3 เดือน หรือ 90 วัน เป็นวัยอยากรู้อยากเห็นและซนมากขึ้น การเลี้ยงกระรอกในวัยนี้ต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะความซนและความอยากรู้อยากเห็นทำให้กระรอกไม่อยู่นิ่งหากเราปล่อยออกจากกรง อาจหนีหายแล้วไม่กลับมาอีก ซึ่งเป็นอันตรายมากเพราะกระรอกที่นำมาเลี้ยงตั้งแต่เล็กๆจะไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่ในป่าธรรมชาติได้

ข้อควรระวังในการเลี้ยงลูกกระรอก ผู้เลี้ยงต้องไม่ดูแลหรือช่วยเหลือลูกกระรอกจนทำให้ขาดสัญชาตญาณของสัตว์ป่า เพราะสัตว์จากธรรมชาติเมื่อนำมาเลี้ยงตั้งแต่เล็กๆจะไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตอยู่ในป่าธรรมชาติได้อีก เนื่องจากขาดสัญชาตญาณการเอาตัวรอด เมื่อนำมาเลี้ยงจึงต้องปล่อยให้กระรอกใช้ชีวิตอยู่ได้ด้วยตัวเองบ้าง เพื่อช่วยให้กระรอกมีชีวิตที่ยืนยาวอยู่ได้ หากหลุดหรือหายไปอยู่ในป่าธรรมชาติ
การศึกษาพฤติกรรมและเรียนรู้ลักษณะนิสัยของสัตว์เลี้ยงทุกชนิด นอกจากเป็นการเตรียมความพร้อมของคนเลี้ยงแล้ว ยังเป็นการช่วยเหลือสัตว์เลี้ยงเหล่านั้นทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อให้มีอายุยืนยาวตามธรรมชาติของสัตว์เลี้ยงเหล่านั้น

30 ชนิดกระรอกในไทย










กระรอกเป็นสัตว์ป่าตัวเล็กๆที่นิยมนำมาเลี้ยงคลายเหงาหรือเพื่อความเพลิดเพลิน กระรอกมีอยู่มากมายหลายชนิด และยังเป็นสัตว์ที่จำแนกชนิดได้ยาก แม้แต่นักวิชาการก็ยังไม่มีข้อสรุปเนื่องจากแต่ละชนิดมีความคล้ายคลึงกันมาก สำหรับกลุ่มกระรอกที่พบในประเทศไทยจำแนกชนิดของกระรอก ทั้งหมดได้ 30 ชนิด

สายพันธุ์
กระรอกอาจแบ่งได้เป็น 3 พวกใหญ่ ๆ ได้แก่ กระรอกต้นไม้, กระรอกดิน และ กระรอกบิน


วงศ์กระรอกมี วงศ์ย่อย 2 วงศ์ คือ 

Pteromyinae ได้แก่ กระรอกบิน
Sciurinae ได้แก่ กระรอกต้นไม้, กระรอกดิน, ชิพมังค์


ลักษณะ

กระรอกต้นไม้ เป็นกระรอกที่มักพบเห็นได้บ่อยและคุ้นเคยกันดี มีหางยาวเป็นพวงสวยงาม มีกรงเล็บแหลมคม และมีใบหูใหญ่ บางชนิดมีปอยขนที่หู ส่วนกระรอกบินนั้น จะมีพังผืดข้างลำตัว สำหรับกางเพื่อร่อนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง มักเป็นหากินในตอนกลางคืน มีตาสะท้อนแสงไฟ กระรอกดิน มักจะมีรูปร่างสั้น และล่ำสันกว่ากระรอกต้นไม้ มีขาหน้าแข็งแรงใช้สำหรับการขุดดิน หางของกระรอกดินนั้นจะสั้นกว่าหางของกระรอกต้นไม้ และไม่ฟูเป็นพวงนัก และเช่นเดียวกับสัตว์ฟันกัดแทะชนิดอื่น ๆ กระรอกจะมีนิ้วเท้าหลังข้างละ 5 นิ้ว และ นิ้วเท้าหน้าข้างละ 4 นิ้ว ตรงส่วนที่น่าจะเป็นนิ้วโป้งจะกลายเป็นปุ่มนูน ๆ ซึ่งถูกพัฒนาให้เหมาะสำหรับจับอาหารมาแทะ


กระรอกเป็นสัตว์ที่คล่องแคล่วว่องไวมาก อาหารของกระรอกคือ ผลไม้ และ เมล็ดพืช เป็นหลัก แต่กระรอกก็ยังชอบกินแมลงด้วยเหมือนกัน โดยเฉพาะกระรอกขนาดใหญ่อย่างพญากระรอก นั้นบางครั้งก็ยังกินไข่นกเป็นอาหารอีกด้วย



ด้วยความน่ารักของกระรอก ทำให้กระรอกหลายชนิดนิยมเป็นสัตว์เลี้ยงของมนุษย์ เพื่อความเพลิดเพลิน



กระรอกที่พบในประเทศไทย

กระรอกมีขนาดใหญ่เล็กต่าง ๆ กันไปตามสายพันธุ์ และสามารถแบ่งตามขนาดได้ 3 กลุ่ม คือ ขนาดใหญ่ เช่น พญากระรอก ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองไทยพบอยู่เพียง 2 ชนิด คือ พญากระรอกดำ (Ratufa bicolor) และพญากระรอกเหลือง (R. affinis) ซึ่งได้ถูกขึ้นบัญชีเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ขนาดกลาง เช่น กระรอกหลากสี (Callosciurus finlaysoni) กระจ้อน (Menetes berdmorei) และ ขนาดเล็ก เช่น กระเล็น (กระถิก) (Tamiops spp.) ซึ่งเป็นกระรอกที่เล็กที่สุดที่พบในประเทศไทย




จำแนกได้ทั้งหมด 30 ชนิด เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง 10 ชนิด





ดู


กระ

รอก








ลักษณะของกระรอก


ลักษณะทางกายภาพของกระรอก

กระรอกมีลักษณะโครงสร้างของขากรรไกรที่คล้ายกับบรรพบุรุษ กระโหลกกว้างจนถึง Zygomatic plate เพื่อเป็นจุดยึดเกาะของ lateral branch ของกล้ามเนื้อ masseter มีจุดเริ่มจากสันนูนด้านข้างของกระดูก rostrum (กระดูกจะงอยปาก) ที่เรียกว่า masseteric tubercle ใน intraorbitalforamenไม่ได้ขยายใหญ่พื่อส่งผ่านกล้ามเนื้อ เหมือนพวก myomorphous(หนู mice และหนู rat) และ hystricomorphous (หนู cavy และหนูตะเภา) กระรอกนั้นมีลักษณะร่างกายหลักๆ 3 แบบ คือ กระรอกต้นไม้ กระรอกดิน และกระรอกบิน กระรอกต้นไม้จะมีหางยาวเป็นพวงกรงเล็บที่แหลมคมและมีหูขนาดใหญ่บางพันธุ์ที่ปลายหูมีขนเป็นพู่กระรอกบินมีผิวหนังที่ปกคลุมด้วยขนยื่นออกจากลำตัวยาวจากข้อมือจนถึงข้อเท้าเพื่อให้สามารถร่อนไปมาระหว่างต้นไม้ได้ กระรอกดินนั้นโดยทั่วไปมีลักษณะแข็งแรงกว่ากระรอกต้นไม้และมีขนที่สั้นกว่ามีขาหน้าที่แข็งแรงไว้สำหรับขุดมีหางที่มีลักษณะเป็น fur และไม่เป็นพวงเหมือนกระรอกต้นไม้ กระรอกมีลักษณะเหมือนสัตว์ฟันแทะอื่นๆ คือมีนิ้วเท้า 5 นิ้วในเท้าหลัง และ 4 นิ้วในเท้าหน้า ซึ่งมีการพัฒนาเป็นอุ้งเท้าเป็นอย่างดี กระรอกมีขนาดตั้งแต่เท่าหนู อย่างเช่นกระรอกปิกมี่แอฟริกา ( Myosciurus  pumilio ) ไปจนถึงไปจึงถึงพวกขนาดใหญ่อย่างมาร์มอทและวูดชัค (genus Marmota )

พฤติกรรมของกระรอก


 พฤติกรรมของกระรอก


กระรอกแป็นสัตว์ที่ออกหากินในตอนกลางวัน (ยกเว้นตระกูลกระรอกบิน) แต่ส่วนใหญ่แล้ว จะออกหาอาหารในช่วงเช้ามืดหรือตอนเย็น เราสามารถพบกระรอกอยู่เป็นกลุ่มได้ในต้นไม้ที่ออกผลมาก มีความเชื่อกันว่ากระรอกตัวที่โตเต็มที่นั้นจะแบ่งเมล็ดพืชให้กับกระรอกที่ยังเล็กอยู่ เชื่อกันว่ากระรอกนั้นจะซ่อนอาหาร อย่างเช่นผลไม้สุก ไว้ในรอยแตก หรือรอยแยกของกิ่งไม้

อาณาเขตของที่อยู่อาศัยของกระรอกที่โตเต็มวัยนั้นอาจซ้อนเหลื่อมกัน
แต่บริเวณที่เกิดการซ้อนเหลื่อมนี้อาจขยายอาณาเขตมากขึ้นเมื่อตัวเมียมีน้อยลงและอาจทำให้กระรอกมาเผชิญหน้ากัน เมื่อเป็นเช่นนี้ กระรอกตัวที่เป็นเจ้าของอาณาเขตจะไล่กระรอกตัวอื่นไปจนกระทั่งกระรอกตัวนั้นออกจากอาณาเขตของตนไป หรือกระรอกตัวที่เป็นเจ้าของอาณาเขตอาจไม่แสดงอาการใดๆ เลยแล้วใช้ชีวิตตามปกติต่อไป กระรอกตัวที่ปกครองเป็นใหญ่ในบริเวณนั้นจะยังคงอยู่โดยเฉพาะบริเวณที่ใช้เป็นที่หาอาหารประจำและมีกระรอกอยู่ทั้ง 2 เพศ ซึ่งจะเป็นเช่นนี้ไปตลอดชีวิตของมัน